ภารกิจ อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล
การพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองตะไก้ นั้น เป็นการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการร่วมคิดร่วมแก้ไขปัญหาร่วมสร้างร่วมจัดทำส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น ในทุกด้าน การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองตะไก้จะสมบูรณ์ได้ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของชุมชนในพื้นที่เกิดความตระหนักร่วมกันแก้ไขปัญหาและความเข้าใจในแนวทางแก้ไขปัญหากันอย่างจริงจัง องค์การบริหารส่วนตำบลหนองตะไก้ยังได้เน้นให้ประชาชนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาในทุกกลุ่มทุกวัยของประชากร นอกจากนั้นยังได้ เน้นการส่งเสริม และสนับสนุนให้การศึกษาของเด็กก่อนวัยเรียน และพัฒนาเยาวชนให้พร้อมที่จะเป็นบุคคลากรที่มีคุณภาพโดยยึดกรอบแนวทางในการจัดระเบียบการศึกษา ส่วนด้านพัฒนาอาชีพนั้นจะเน้นพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในท้องถิ่น และยังจัดให้ตั้งเศรษฐกิจแบบพอเพียงโดยส่วนรวมการวิเคราะห์ภารกิจ อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 และรวบรวมกฎหมายอื่นของ อบต. ใช้เทคนิค SWOT เข้ามาช่วย ทั้งนี้เพื่อให้ทราบว่า องค์การบริหารส่วนตำบล มีอำนาจหน้าที่ ที่จะเข้าไปดำเนินการแก้ไขปัญหา ในเขตพื้นที่ให้ตรงกับความต้องการของประชาชนได้อย่างไร โดยวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส ภัยคุกคาม ในการดำเนินการตามภารกิจตามหลัก SWOT องค์การบริหารส่วนตำบลหนองตะไก้ กำหนดวิธีการดำเนินการตามภารกิจสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาอำเภอ แผนพัฒนาตำบล นโยบายของรัฐบาล และนโยบายของผู้บริหารท้องถิ่น ทั้งนี้สามารถวิเคราะห์ภารกิจให้ตรงกับสภาพปัญหา โดยสามารถกำหนดแบ่งภารกิจได้ เป็น 7 ด้าน ซึ่งภารกิจดังกล่าวถูกกำหนดอยู่ในพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 ดังนี้
5.1 ด้านโครงสร้างพื้นฐาน มีภารกิจที่เกี่ยวข้องดังนี้
(1) การจัดการและดูแลสถานีขนส่งทางบกและทางน้ำ
(2) การสร้างและบำรุงรักษาทางบกและทางน้ำที่เชื่อมต่อระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น
(3) การขนส่งมวลชนและวิศวกรรมจราจร
(4) การสาธารณูปการ
(5) การจัดให้มีและการบำรุงทางน้ำและทางบก
(6) การจัดให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ
(7) การจัดให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา
(8) การจัดให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม
(9) การจัดให้มีและการบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
5.2 ด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
(1) การจัดการศึกษา
(2) การจัดให้มีโรงพยาบาลจังหวัด การรักษาพยาบาล การป้องกันและการควบคุมโรคติดต่อ
(3) การป้องกัน การบำบัดโรค และการจัดตั้งและบำรุงสถานพยาบาล
(4) การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
(5) การรักษาความสะอาดของถนน ทางเดิน และที่สาธารณะ
(6) การจัดให้มีโรงฆ่าสัตว์
(7) การจัดให้มีสุสานและฌาปนสถาน
(8) การจัดให้มีการบำรุงสถานที่สำหรับนักกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจ สวนสาธารณะสวนสัตว์
ตลอดจนสถานที่ประชุมอบรมราษฎร
(9) การบำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร
5.3 ด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
(1) การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และลัทธิเสรีภาพของประชาชน
(2) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(3) การจัดให้ระบบรักษาความสงบเรียบร้อยในจังหวัด
(4) การรักษาความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนในเขตตำบล
(5) การควบคุมอาคาร
5.4 ด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุน พาณิชย์กรรมและการท่องเที่ยวมีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
(1) ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว
(2) ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกร และกิจการสหกรณ์
(3) บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร
(4) การจัดตั้งและดูแลตลาดกลาง
(5) การส่งเสริมการท่องเที่ยว
(6) กิจการเกี่ยวกับการพาณิช
(7) การส่งเสริมการฝึกและประกอบอาชีพ
(8) การพาณิชย์กรรมและการส่งเสริมการลงทุนและทำกิจกรรมไม่ว่าจะดำเนินการเองหรือ
ร่วมกับบุคคลอื่นหรือจากสหการ
(9) การจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัด และประสานการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด
ตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
5.5 ด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีภารกิจที่เกี่ยวข้องดังนี้
(1) การคุ้มครอง ดูแลและบำรุงรักษาป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(2) การจัดตั้งและดูแลระบบบำบัดน้ำเสียรวม
(3) การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่างๆ
(4) การกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลรวม
(5) การกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
5.6 ด้านการศาสนา ศิลปะวัฒนาธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
(1) บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
(2) การจัดให้มีพิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุ
(3) การจัดการศึกษา
(4) การส่งเสริมการกีฬา จารีตประเพณี และวัฒนาธรรมอันดีงามของท้องถิ่น
(5) การศึกษา การทำนุบำรุงศาสนา และการส่งเสริมวัฒนธรรม
5.7 ด้านการบริหารจัดการและการสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
(1) สนับสนุนสภาตำบลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น สนับสนุนหรือ
ช่วยเหลือส่วนราชการหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาท้องถิ่น
(2) การแบ่งสรรเงินซึ่งตามกฎหมายจะต้องให้แก่สภาตำบลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น
(3) การให้บริการแก่เอกชน ส่วนราชการ หน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น
(4) การประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(5)การสร้างและบำรุงรักษาทางบกที่เชื่อมต่อระหว่างองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นใกล้เคียง
แนวทางการพัฒนาหรือกลยุทธ์ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา
วิสัยทัศน์การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองตะไก้
“ สังคมน่าอยู่เชิดชูคุณธรรม น้อมนำหลักเศรษฐกิจพอเพียง
ยึดเสียงประชาชนเป็นสำคัญ ภูมิคุ้มกันชีวิตดีมีสุข อย่างยั่งยืน ”
พันธกิจ (MISSION)
1. พัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคสาธารณูปการ การสร้างชลประทาน ฝายทำนบ
ขุดสระ และการขุดลอก แหล่งน้ำต่างๆรวมไปถึง การพัฒนาลุ่มน้ำ
2. พัฒนาส่งเสริมอาชีพ ภูมิปัญญาท้องถิ่นต่างๆ และ เสริมสร้างเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
3. ส่งเสริมด้านอนามัยชุมชนและเสริมสร้างสุขภาพ
4. พัฒนาคุณภาพชีวิต ส่งเสริมให้ครอบครัวอบอุ่นลดปัญหาความรุนแรงในครอบครัว พัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา ผู้ด้อยโอกาส
5. ส่งเสริมการจัดการศึกษา ทั้งในและนอกระบบ
6. พัฒนาระบบและเพิ่มศักยภาพการผลิต ส่งเสริมให้เกษตรกรทำเกษตรอินทรีย์
7. สืบสานวัฒนธรรม ประเพณี ที่ดีงามของชุมชน
8. สร้างชุมชนความเข้มแข็ง ปลอดภัยจากอาชญากรรมและปลอดจากยาเสพติด
9.พัฒนาการบริหารราชการเป็นไปตามหลักการบริหารราชการที่ดี ส่งเสริม พัฒนาทักษะ ศักยภาพของ
บุคลากร ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและองค์กรทุกภาคส่วน
10.ส่งเสริม สนับสนุนการกีฬาทุกประเภท เพื่อความสามัคคีในชุมชน และห่างไกลยาเสพติด
11.อนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมให้เกิดความสมดุลยั่งยืน
12.ดำเนินโครงการต่างๆที่เกิดขึ้นตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อประโยชน์ของประชาชนในตำบลหนองตะไก้
จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา
1.พัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคสาธารณูปการ การสร้างชลประทาน ฝาย ทำนบ ขุดสระ และการขุดลอก แหล่งน้ำต่างๆรวมไปถึง การพัฒนาลุ่มน้ำ
2.พัฒนาส่งเสริมอาชีพ ภูมิปัญญาท้องถิ่นต่างๆ และ เสริมสร้างเศรษฐกิจพอเพียงตามแนพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
3.ส่งเสริมด้านอนามัยชุมชนและเสริมสร้างสุขภาพพัฒนาคุณภาพชีวิต ส่งเสริมให้ครอบครัวอบอุ่นลดปัญหาความรุนแรงในครอบครัว
4.พัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา ผู้ด้อยโอกาส
5.ส่งเสริมการจัดการศึกษา ทั้งในและนอกระบบ
6.พัฒนาระบบและเพิ่มศักยภาพการผลิต ส่งเสริมให้เกษตรกรทำเกษตรอินทรีย์
7.สืบสานวัฒนธรรม ประเพณี ที่ดีงามของชุมชน
8.สร้างชุมชนความเข้มแข็ง ปลอดภัยจากอาชญากรรมและปลอดจากยาเสพติด
9.พัฒนาการบริหารราชการเป็นไปตามหลักการบริหารราชการที่ดี ส่งเสริม พัฒนาทักษะ ศักยภาพของบุคลากร ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและองค์กรทุกภาคส่วน
10.ส่งเสริม สนับสนุนการกีฬาทุกประเภท เพื่อความสามัคคีในชุมชน และห่างไกลยาเสพติด
11.อนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมให้เกิดความสมดุลยั่งยืน
12.ดำเนินโครงการต่างๆที่เกิดขึ้นตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อประโยชน์ข |